พระไชยวัฒน์ทองคำองค์เล็ก รัชกาลที่ 5
ราชกิจจานุเบกษา เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ.2427 พัฒนาต่อยอดมาจนถึงปัจจุบัน
พระไชยวัฒน์ทองคำองค์เล็ก รัชกาลที่ 5 ราชกิจจานุเบกษากรุงเทพมหานครในพระบรมหาราชวัง
1. ราชกิจจานุเบกษ เล่ม 4 หน้า 181 - 183 (รศ.106, พ.ศ.2430)
ข่าวพระราชทาน พระไชยวัฒน์ทองคำ (กะไหล่ทอง)
- วันจันทร์ เดือนสิบ แรมสามค่ำ ปีกุน
- ในการฉลองพระพุทธรูปประจำพระชนพรรษา(ร.5) ในพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร
- พระราชทานพระไชยวัฒนทองคำ(กะไหล่ทอง)องค์เล็ก และตลับทองคำ เป็นรูปตราปทุมลงยาราชาวดี สำหรับใส่พระและมีสร้อยทองคำ
พระราชทานแก่
1. พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงษ 1 ชุด
2. พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร 1 ชุด
3. พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ 1 ชุด
เมื่อก่อนจะพระราชทาน พระไชยวัฒน์นั้นโปรดเกล้า พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ผู้ที่จะได้รับพระราชทาน พระไชยวัฒน์เป็นความ 3 ข้อ ทรงมีพระดำริห์ว่าผู้ที่จะได้รับพระราชทานนี้
- เป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง
- เป็นผู้มีความรักใคร่ต่อบ้านเมืองและวงตระกูลของตน
- เป็นผู้มีความกตัญญูซื่อสัจจงรักภักดี ต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ร.5)
"แล้วจะมีความเจริญศิริสวัสดี เป็นผลสำเร็จซึ่งสุขประโยชน์ทุกเมื่อ"
เรื่องเดิมของพระไชยวัฒน์ทองคำ(กะไหล่ทอง)องค์เล็กนี้
เดิมจะทรงพระกรุณาโปรดให้พระเจ้าลูกเธอ 4
พระองค์ที่จะเสด็จไปเรียนวิชาในเมืองอังกฤษ
จึงโปรดเกล้าจะพระราชทานสิ่งสำคัญอันใดอันหนึ่งให้ทรงไลว้เป็นเครื่องรฤก
บูชาในเวลาที่ต้องเสด็จไปจากประเทศสยามช้านาน ครั้นจะโปรดเกล้า
- พระราชทานพระพุทธรูปฤาสิ่งใดที่มีอยู่แล้ว ในหอหลวงก็เป็นของโตใหญ่เป็นการลำบากที่นำไปนำมาทุกสิ่งทุกอย่าง
- จึงทรงพระราชดำริห์ที่จะทรงหล่อพระพุทธรูป ที่เรียกว่าพระไชยวัฒน์ ขนาดเทียบเท่ากับทองคำหนัก 1 เฟื่อง
- ตั้งพระราชพิธีสวดมนต์ ณ วันเสาร์ เดือนแปด ขึ้นเก้าค่ำ ปีระกา (รศ104, พ.ศ.2428) สวดครบ 3 วันแล้ว
- ณ อังคาร เดือนแปด ขึ้นสิบสองค่ำ ปีระกา (รศ104, พ.ศ.2428) เป็นวันเททองหล่อในครั้งนี้ จำนวน 50 องค์(สร้างครั้งที่ 2 ในสมัยรัชกาลที่ 5)
- โปรดเกล้าให้สร้างตลับทองคำทรง(ใ่ส่)พระชัยนี้ ด้วยทองคำลงยา
ตลับนั้นทำรูปและลวดลายคล้ายกับดวงตารูปประทุมอุณาโลม
ประจำแ่ผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุาโลก
แต่ตลับนี้ที่ตรงกลางเป็นแก้วเปล่าไม่มีอุณาโลม และมีสร้อยสรวมคอด้วย
- เมื่อทรงหล่อพระพุทธรูปไชยวัฒน์ 50 องค์ นี้
แล้วได้มีการสวดงนต์ฉลองพระไชยวัฒน์นี้ในวันจันทร์ เดือนแปด แรมสามค่ำ
ปีระกา (รศ104, พ.ศ.2428)
- วันอังคาร เดือนแปด แรมสี่ค่ำ ปีระกา (รศ104, พ.ศ.2428)
เป็นวันที่พระเจ้าลูกเธอ ทั้ง 4 พระองค์จะเสร็จออกไปประเทศยุโรป
จึงทรงพระกรุณาโปรดกล้า
พระราชทานแก่
4. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลํกษณ์ 1 ชุด
5. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ 1 ชุด
6. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม 1 ชุด
7. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช 1 ชุด
เป็นครั้งแรกที่ได้ โปรดเกล้าพระราชทานพระไชยวัฒน์จากจำนวนการสร้าง 50 องค์นี้
ต่อมาวันพฤหัสบดี เดือนแปด แรมสิบสามค่ำ ปีระกา (รศ104, พ.ศ.2428) โปรดเกล้าให้ส่งพระไชยวัฒน์ออกไปกรุงลอนดอน
พระราชทานแด่
8. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ 1 ชุด
9. พระเจ้าน้องยาเธอ องค์เจ้าโสณบัณฑิตย์ 1 ชุด
วันศุกร์ เดือนแปดอุตราสาตร ขึ้นหกค่ำ ปีระกา (รศ104, พ.ศ.2428)
พระราชทานแด่
10. พระองค์เจ้าสายสินิทธวงธ 1 ชุด
วันศุกร์ เดือนสิบ ขึ้นสามค่ำ ปีระกา (รศ104, พ.ศ.2428)
พระราชทานแด่
11. สมเด็จพระเจ้าบรมวงเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราชปรปักษ 1 ชุด
12. พระเจ้าราชวรวงเธอกรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ 1 ชุด
13. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษกรมพระภาณุพันธุวงษวรเดช 1 ชุด
14. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช 1 ชุด
15. พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นศิริธัชสังกาศ 1 ชุด
16. พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ 1 ชุด
17. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษวโรประการ 1 ชุด
18. พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นสมมตอมรพันธุ 1 ชุด
วันศุกร์ เดือนสิบ ขึ้นสิบค่ำ ปีระกา (รศ104, พ.ศ.2428)
พระราชทานแด่
19. พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษศิลปาคม 1 ชุด
20. พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ 1 ชุด
วันศุกร์ เดือนสิบเอ็ด ขึ้นสิบห้าค่ำ ปีระกา (รศ104, พ.ศ.2428)
พระราชทานแด่
21. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร 1 ชุด
22. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ 1 ชุด
วันเสาร์ เดือนยี่ แรมสี่ค่ำ ปีรกาสัปตศก
พระราชทานแด่
23. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนตรัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ เมื่อวันรับกรม 1 ชุด
วันพุร เดือนสี่ ขึ้นหกค่ำ ปีรกาสัปตศก
พระราชทานแด่
24. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงษ์ 1 ชุด
***ส่วนพระองค์เจ้า สวัสดิโสภณ์ ซึ่งอยู่ที่ประเทศยุโรปไม่ได้โปรดเกล้าพระราชทานออกไปเพราะ... เมื่อ
พระองค์เจ้า สวัสดิโสภณ์ จะเสด็จออกไปยุโรป
โปรดเกล้าให้หล่อพระพุทธรูปทองคำ(กะไหล่ทอง)องค์เล็ก
มีอาการอย่างนี้เหมือนกันแต่โตกว่า พระไชยวัฒน์ที่สร้างจำนวน 50
องค์หน่อยนึ่งได้หล่อในครั้งนั้นจำนวน 4 องค์ (สร้างครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5)
พระราชทานแก่
1. พระองค์เจ้า สวัสดิโสภณ์ 1 ชุด
--- "บันดาผู้ที่ได้รับ พระราชทานพระไชยวัฒน์ไปแล้วนี้
ถ้าไม่มีตัวลงแล้ว ถ้ามีบุตรที่สมควรจะรักษาได้ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
พระราชทานให้เป็นที่รฤภสืบไป แต่ต้องนำกลับมาให้ทูนเกล้า
ถวายให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานบรมราโชวาท
และพระราชทานต่อพระหัถด้วย"
2. ราชกิจจานุเบกษ เล่ม 8 หน้า 235 (รศ.110, พ.ศ.2434)
ข่าวพระราชทาน พระไชยวัฒน์ทองคำ (กะไหล่ทอง) องค์เล็ก
- วันที่ 24 กันยายน ปีเถาะ รัตนโกสินทร์ศก 110
- ร.5 เสด็จออกที่ศัลลักษณสฐาน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานพระไชยวัฒน์
ทองคำ (กะไหล่ทอง)
องค์เล็กและตลับทองคำเป็นรูปตราประทุมลงยาราชาวดีและมีสร้อยทองคำ
25. แด่พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงษ์ 1 ชุด
26. พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล 1 ชุด
3. ราชกิจจานุเบกษ เล่ม 9 แผ่นที่ 26 วันที่ 25 กันยายน หน้า 199 - 201 (รศ.111, พ.ศ.2435)
การพระราชพิธีศรีสัจปานกาล พระราชทาน พระไชยวัฒน์ องค์เล็ก และเครื่องราชอิศริยาภรณ์ และตั้งองคมนตรี
- ในการพระราชพิธีศรีสัจปานกาล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็ก และเครื่องราชอิศริยาภรณ์ มหาจักรกรีบรมราชวงษ์
- วันที่ 18 กันยายน รัตนโกสินทร์ศก 111(พ.ศ.2435) ได้จัดพระแท่นมณฑล
ในพระอโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งพระขันหยก และพระเต้าต่างๆ
และพาดพระแสงต่างๆ เชิญพระไชยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ 5
ขึ้นสถิตย์และตั้งหม้อน้ำพระพุทธมนต์ตามธรรมเนียม
นิมนต์พระราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย 38 องค์ พราหมณ์อ่านดุษดีสังเวย
สรรเสริญพระมหามณีรัตนปฏิมากร
- วันที่ 19 กันยายน พระสงฆ์สวดมนต์ 18 รูป
- หลวงราชมุนีปลัด กรมพราหมณ์พิธี เชิญพระแสง ศร พรหม มาศ ประลัยวาต
อัคนีวาต อ่านโองการแล้วเชิญลงชุบในพระขันหยกและอ่างแช่งน้ำตามแบบพรหมณ์
- ขุนวิจิตร ราชสาสนกรมพระอาลักษณ์ ประกาศแช่งน้ำ
27. ทรงสรวมสร้างมีพระไชยวัฒน์ องค์เล็ก พระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช 1 ชุด
4. ราชกิจจานุเบกษ เล่ม 10 หน้า 255 - 257 (รศ.112, พ.ศ.2436)
การพระราชพิธีหล่อ พระไชยวัฒน์
- ร.5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตั้งพระราชพิธีหล่อพระไชยวัฒน์ ที่วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ
- เจ้าพนักงานได้จัดการพระอุโบสถพระแท่นมณฑลอย่างน้อย ประดิษฐานพระไชยวัฒน์ประจำรัชกาลทั้ง 5 องค์ และพระเนาวโลหะองค์หนึ่ง
- หลังพระแท่นมณฑลตั้งพานรองหุ่นพระพุทธรูป(พระชัยวัฒน์องค์เล็ก)
ที่จะหล่อใหม่ ริมพระแท่นมีปืนมหาฤกษ์ มหาไชย มหาจักร์ มหาปราบยุค
- ตั้งเตียงสงฆ์ สวนภาณวาร หน้าประตูอุโบสถตรงพระแท่นมณฑล
- และตั้งกระโจมเทียนไชยหน้าเตียงสงฆ์
- ปลูกประรำที่จะหล่อพระพุทธรูป(พระชัยวัฒน์องค์เล็ก)ที่ชาลาหน้าพระอุโบสถ มีศาลเทพารักษ์สูงเพียงตาสำหรับโหรบูชาเทพดาทั้ง 4 ทิศ
- วันที่ 19 สิงหาคม รศ.112 พ.ศ.2535 เป็นวันเริ่มการพิธี พระสงฆ์ 10 รูปเจริญพุทธมนต์ สจิตบริต
- วันที่ 20 สิงหาคม ร.5 เวลาย่ำรุ่งครึ่ง
เสด็จประทับในพระอุโบสถวัดนิเวศน?ืธรรมประวัติ
พระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย และพระพิธีธรรมรวม 30 รูป
- พระสงฆ์สวดคาถา เจ้าพนักงานประโคมแตรสังข์ พิณพาทย์พร้อมกัน
พระสงฆ์ในวันนี้มีการผลัดกันสวดพุทธภิเษก พระราชาคณะนั่งปรกประจำเทียนไชย
- วันที่ 21 เวลาเช้า 4 โมง พระสงฆ์รับพระราชทาฉัน เวลาค่ำเจริญพระพุทธมนต์
- วันที่ 22 พิธีเหมือนวันที่ 21
- วันที่ 23 เวลาเช้า 3 โมงครึ่ง ร.5 ทรงเททองหล่อพระไขยเนาวโลหองค์ใหญ่ 1 องค์ พระไชเนาวโลหะองค์เล็ก 1 องค์ พระไชยวัฒน์องค์เล็กหล่อ 25 องค์ (สร้างพระชัยวัฒน์ครั้งที่ 3ในสมัย ร.5) และหล่อพระพุทธรูปประจำพระชนม์พรรษาปี 2435 จำนวน 1 องค์
- พระสงฆ์สวยไชยมงคล เจ้าพนักงานประโคมดุริยดนตรี และยิงปืนมหาฤกษ์ มหาไชย มหาจักร์ มหาปราบยุคสลุด 21 นัด
- วันที่ 24 เวลาเช้า 5 โมงเศษเจ้าพนักงานและกรมการกรุงเก่าได้สมโภชพระพุทธรูปที่หล่อใหม่ตามธรรมเนียม
1. พระ
ราชทาน พระไชยวัฒน์แด่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ( ร.6)
ทรงสรวมสร้อมทองคำ มีตลับทองคำลงยาราชาวดี บรรจุพระไชยวัฒน์ 1 ชุด
5. ราชกิจจานุเบกษ เล่ม 11 หน้า 264 (รศ.113, พ.ศ.2437)
การฉลอง พระไชยวัฒน์
- วันที่ 14 พฤศจิกายน รศ.113 พ.ศ.2437 โปรดเกล้าให้จัดการฉลองพระไชยวัฒน์
26 องค์ ที่หล่อพระราชวังบางปิน ที่พระที่นั่ง อมรินทร วินิจฉัย (สร้างพระชัยวัฒน์ครั้งที่ 4ในสมัย ร.5)
- เจ้าหน้าที่ได้เชิญพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ 5 และพระชัยวัฒน์ 26 องค์
ขึ้นประดิษฐานบนพระที่นั่งเสวตรฉัตร ถัดออกมาตั้งพระแท่นมีเทียน 26 เล่ม
เครื่องนมัสการตามธรรมเนียม
- เวลา 4 ทุ่มเศษ พระสงฆ์ 26 รูป เจริญพระพุทธมนต์
- วันที่ 15 พฤษจิกายน ช่วงเข้ามีเลี้ยงพระสงฆ์และเจริญพุทธมนต์
พระราชทาน พระไชยวัฒน์
1. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช 1 องค์
2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ละองค์
3. และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ละองค์
- ในการนี้มีดอกไม้เพลิงทั้ง 2 เวลา
6. ราชกิจจานุเบกษ เล่ม 14 หน้า 69 (รศ.116, พ.ศ.2440)
พระราชทาน พระไชยวัฒน์ทองคำ (กะไหล่ทอง) องค์เล็ก
- วันที่ 14 เมษายน รศ.116 พ.ศ.2440
- ร.5 ประทับในเรือพระที่นั่งมหาจักรกรี ทรงพระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(กะไหล่ทอง)องค์เล็ก
28. พระองค์เจ้าวุฒิไขยเฉลิมลาภ 1 ชุด
29. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ 1 ชุด
7. ราชกิจจานุเบกษ เล่ม 15 หน้า 45 (รศ.117, พ.ศ.2441)
พระราชทาน พระไชยวัฒน์ทองคำ (กะไหล่ทอง) องค์เล็ก
- วันที่ 28 เมษายน รศ.117 พ.ศ.2441
- ร.5 เสด็จออกพระที่นั่งจักรกรีมหาประสาท ทรงพระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(กะไหล่ทอง)องค์เล็ก
30. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยูรพันธ์ 1 ชุด
8. ราชกิจจานุเบกษ เล่ม 16 หน้า 289 (รศ.118, พ.ศ.2442)
พระราชทาน พระไชยวัฒน์ทองคำ (กะไหล่ทอง) องค์เล็ก
- วันที่ 25 สิงหาคม รศ.118 พ.ศ.2442
- ร.5 เสด็จออกพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาท ทรงพระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(กะไหล่ทอง)องค์เล็ก
31. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิต ประจูร ศักดิ์ 1 ชุด
9. ราชกิจจานุเบกษ เล่ม 17 หน้า 44 (รศ.119, พ.ศ.2443)
พระราชทาน พระไชยวัฒน์ทองคำ (กะไหล่ทอง) องค์เล็ก
- วันที่ 29 เมษายน รศ.119 พ.ศ.2443
- ร.5 ประทับ พลับพลา สวน ดุสิต ทรงพระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(กะไหล่ทอง)องค์เล็ก
32. พระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าปรีชา 1 ชุด
10. ราชกิจจานุเบกษ เล่ม 17 หน้า 360 (รศ.119, พ.ศ.2443)
พระราชทาน พระไชยวัฒน์ทองคำ (กะไหล่ทอง) องค์เล็ก
- วันที่ 22 กันยายน รศ.119 พ.ศ.2443
- ร.5 เสด็จออกพระที่นั่ง อมรินทร วินิจฉัย ในการพระราชพิธีสารท ทรงพระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(กะไหล่ทอง)องค์เล็ก
33. พระวรวงษ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ 1 ชุด
34. พระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าเสรฐวงษ์ วราวัตร์ 1 ชุด
สรุป พระไชยวัฒน์ หรือ พระชัยวัฒน์
สร้างครั้งแรก พระชัยวัฒน์จำนวนการสร้าง 4 องค์
...พระราชทาน 1 องค์ มีอีกจำนวน 3 องค์ไม่ได้บันทึกไว้ในราชกิจจานุเบกษา
สร้างครั้งที่ 2 พ.ศ.2428 พระชัยวัฒน์จำนวนการสร้าง 50 องค์
...พระราชทาน พ.ศ.2428 - 2430 พระราชทาน จำนวน 24 องค์
...พระราชทาน พ.ศ.2434 พระราชทาน จำนวน 2 องค์
...พระราชทาน พ.ศ.2435 พระราชทาน จำนวน 1 องค์
รวมพระราชทานพระไชยวัฒน์เฉพาะการสร้างครั้งที่ 2 จำนวน 27 องค์ มีอีกจำนวน 23 องค์ไม่ได้บันทึกไว้ในราชกิจจานุเบกษา...
สร้างครั้งที่ 3 พ.ศ.2436 พระชัยวัฒน์จำนวนการสร้าง 25 องค์
...พระราชทาน พ.ศ.2436 จำนวน 1 องค์ มีอีกจำนวน 24 องค์ไม่ได้บันทึกไว้ในราชกิจจานุเบกษา
สร้างครั้งที่ 4 พ.ศ.2437 พระชัยวัฒน์จำนวนการสร้าง 26 องค์
...พระราชทาน พ.ศ.2437 บุคคลที่ได้รับ...ไม่ได้ระบุไว้ว่าผู้ใดได้รับพระไชยวัฒน์
***พระราชทาน พ.ศ.2440 พระราชทาน จำนวน 2 ชุด
***พระราชทาน พ.ศ.2441 พระราชทาน จำนวน 1 ชุด
***พระราชทาน พ.ศ.2442 พระราชทาน จำนวน 1 ชุด
***พระราชทาน พ.ศ.2443 พระราชทาน จำนวน 3 ชุด รวมสองวาระ
รวมพระราชทานพระไชยวัฒน์เฉพาะการสร้างครั้งที่ 4 จำนวน 26 องค์ ไม่สามารถสรุปเป็นจำนวนองค์พระที่ได้พระราชทานรวมกี่องค์ในการสร้างครั้งนี้ได้
ศึกษาพิธีกรรมการสร้างพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ 6 เมื่อ 14 มกราคม พ.ศ. 2453 ลิงค์...พระราชพิธีหล่อพระไชยวัฒน์ ประจำรัชกาลที่ 6 และ ลิงค์...สมโภชพระไชยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ 6
พระไชยวัฒน์องค์เล็กสร้างในสมัยของ ร.5 ไม่ว่าเป็นเรื่องพิธีกรรมการสร้าง วัตถุประสงค์การสร้าง พุทธคุณ สุดยอดครบทุกเรื่อง
ผู้เขียนขอยกให้เป็น พระชัยวัฒน์องค์เล็ก ที่มีพุทธานุภาพครอบจักรวาล จัดให้เป็น "พระชัยวัฒน์อีกรุ่นหนึ่งน่าสะสม ที่เคยสร้างขึ้นในประเทศไทย"
///หากใครโชคดีมีในครอบครองเก็บไว้บูชาติดตัวไว้ครับ
///อย่างไปเชื่อพวกเซียนตำรา ของดีมีน้อย
///สร้างจำนวน 4 ครั้งมีทั้งหมด 105 องค์
///มีพระชัยวัฒน์ที่สร้างในยุค ร.5 จำนวนหนึ่งที่ไม่ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานเก็บไว้ในกรุ...ได้หลุดออกมาสู่ตลาด
///และมีพระชัยวัฒน์ที่โปรดเกล้าพระราชทานให้กับเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงอีกส่วนหนึ่ง
///ผู้เขียนมั่นใจว่ามีพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ 5 หมุนเวียนอยู่ในตลาดที่คนไม่รู้จักจำนวนหนึ่ง
///หากพบนับว่าโชคดี บุญพาววาสนาส่งอย่าแท้จริง...
///ผู้เขียนมีพระไชยวัฒน์กะไหล่ทองสมบูรณ์เพียง 4 องค์ ส่วนอีก 2 องค์กะไหล่ทองไม่สมบูรณ์ พระชุดนี้หวงครับ...หุหุ
พระไชยวัฒน์ ทองคำ (กะไหล่ทอง) องค์เล็ก ประจำรัชการที่ 5 ปางมารวิชัย |
พระไชยวัฒน์ ทองคำ (กะไหล่ทอง) องค์เล็ก ประจำรัชการที่ 5 ปางสมาธิ |
พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ 5 องค์นี้ส่วนตัวห้อยขึ้นคอประจำ |
พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ 5 องค์นี้ส่วนตัวห้อยขึ้นคอประจำ รูปด้านหลัง |
พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่5 |
พระ ชัยวัฒน์องค์เล็ก ร.5 ปางสมาธิและปางมารวิชัย กะไหล่ทองที่ชุบบางๆ ทำปฏิกริยากับน้ำแล้วอากาศ อายุผ่านมาเกิน 100 ปี ยังพอเห็นร่องรอยของกะไหล่ทองจากองค์จริง |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น