พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก สายวัง ฝีมือช่างสิบหมู่ สมัย ร.5
ผู้เขียนเคยเรียนบทความเกี่ยวกับ
พระชัยวัฒน์ หรือ
พระไชยวัฒน์
ของสายวังที่สร้างโดยช่างสิบหมู่มาก่อนหน้านี้
ได้เขียนพร้อมทั้งอ้างอิงมากมาย ว่า องค์นั้น องค์นี้ สร้างใน พ.ศ. อะไร?
ในรัชกาลใด?
ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลที่ได้รับพระเมตตาจาก
พระเบื้องบน...สงเคราะห์ แต่มีข้อมูลอีกด้านหนึ่ง
เป็นข้อมูลสืบค้นจากทางประวัติศาสตร์ที่ผู้เขียนได้พบมานานแล้ว
ดังนั้นในกระทู้นี้จะนำข้อมูลเหล่านี้มาเปิดเผย เรียบเรียง เพื่อให้กระชับ ด้วยการสรุปเนื้อหาเป็นช่วงๆ
พระชัยวัฒน์ หรือ พระไชยวัฒน์ที่สร้างในสมัย ร.3 หาข้อมูลยาก
พระชัยวัฒน์ หรือ พระไชยวัฒน์ที่สร้างในสมัย ร.4 หาข้อมูลพอได้บ้าง
พระชัยวัฒน์ หรือ พระไชยวัฒน์ที่สร้างในสมัย ร.5 หาข้อมูลได้ ไม่ยาก แต่ไม่ทั้งหมด
ดังนั้นในกระทู้นี้ผมจะขอกล่าวถึง พระชัยวัฒน์ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5
มีตำราหลายเล่มลอกกันไปลอกกันมาว่า
พระชัยวัฒน์ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นพระชัยวัฒน์ทองคำหนัก 1 เฟื่อง
พร้อมทั้งนำรูปพระชัยวัฒน์องค์เล็กๆมาแสดงพร้อมทั้งอ้างว่าเป็นพระไชยวัฒน์
ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อมทั้งราคาขาย(ให้เช่า)
ราคาคนชั้นกลางไม่สามารถซื้อได้ จากข้อเท็จจริงที่ผู้เขียนศึกษาทำให้ทราบว่าข้อมูลดังกล่าวคลาดเคลื่อน
1. ศึกษาเรื่อง พิธีกรรมในการสร้างพระชัยวัฒน์มีขั้นตอนการสร้างอย่างไรเมื่อ พ.ศ.2436
บันทึกเรื่อง การ พระ ราช พิธี หล่อ พระไชยวัฒน์ รศ.112 หรือ พ.ศ.2436
***หมายเหตุ***
/// บันทีกเรื่อง การพระราช พิธี หล่อ พระไชยวัฒน์ " สังเกตุสักนิดจะพบว่าหล่อ พระไชยวัฒน์ ไม่ได้ระบุว่าเป็นโลหะธาตุชนิดใด
ผู้เขียนขอย่อสรุป เพื่อให้กระชับเนื้อหา
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(พ.ศ.2436 คือ รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตั้งพระราชพิธีหล่อ พระไชยวัฒน์ที่วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ "วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา"
ขั้นตอนการเตรียมพิธีหล่อ พระไชยวัฒน์
- พนักงานได้จัดการในพระอุโบสถ ตั้งพระแท่นมณฑลอย่างน้อย ประดิษฐานพระไชยวัฒน์ประจำราชกาลทั้ง 5 องค์ และพระเนาวโลหะ 1 องค์
- หลังพระแท่นมณฑลตั้งพานรองหุ่นพระพุทธรูปที่จะหล่อใหม่
- ริมพระแท่นมีปืนมหาฤกษ์ มหาไชย มหาจักร์ มหาปราบยุค
- ตั้งเตียงสงฆ์ สวดภาณ หน้าประตูพระอุโบสถตรงพระแท่นมณฑล และตั้งกระโจมเทียนไชยหน้าเตียงสงฆ์
- ปลูกประรำที่จะหล่อพระพระพุทธรูป ที่ชาลาหน้าพระอุโบสถ
- มีศาลเทพรักษ์ สูงเพียงตาสำหรับโหรบูชาเทพดาทั้ง 4 ทิศ
หมายกำหนดการของพิธีหล่อ พระไชยวัฒน์
วันที่ 19 สิงหาคม รศ.112(พ.ศ.2436)
- เป็นวันเริ่มการพระราชพิธี พระสงฆ์ราชาคณะ 10 รูป พร้อมอยู่ในพระอุโบสถ
- เวลาทุ่มเศษ ร.5 เสด็จพระราชดำเนินจากพระราชวังบางปะอินด้วยเรือพระที่นั่งทองทั้งแท่ง ไปประทับวัดนิเวศฯ์ธรรมประวัติ
- เสด็จเข้าสู่พระอุโบสถทรงจุดเทียนนมัสการ
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรม หมื่น วชิรญาณ วโรรส ถวายศลี
- พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์สัตปริตร (พระพุทธมนต์ใน เจ็ดตํานานที่เรียกว่า สัตปริตร และสิบสองตํานานที่เรียกว่า ทวาทศปริตร, ตํานานหนึ่ง เรียกว่า ปริตรหนึ่ง)
-โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จไปจุดเทียนบูชาเจดียฐาน ในบริเวณพระอารามนี้
- พระสงฆ์สวดมนต์จบแล้ว ร.5 เสด็จสู่พระราชวัง
วันที่ 20 สิงหาคม รศ.112(พ.ศ.2436)
-
เวลาย่ำรุ่งครึ่ง(ประมาณ 5.30 น.) ร.5
เสด็จประทับในพระอุโบสถวัดนิเวศ์ธรรมประวัติ พระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย
และพระพิธีกรรมรวม 30 รูป พร้อมกันอยู่ในพระอุโบสถ ทรงจุดเทียนนมัสการ
ทรงศลีแล้ว
- พระราชทานเทียนทอง ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรม หมื่น วชิรญาณ วโรรส ทรงจุดเทียนไชย ขณะนั้นพระสงฆ์สวดคาถา
- เจ้าพนักงานประโคมแตรสังข์ พิณพาทย์ พร้อมกัน
- พระสงฆ์ 30 รูปได้รับพระราชทานฉัน และพระพิธีธรรม ได้ผลัดเปลี่ยนกันสวดพุทธาภิเศก
- พระราชาคณะนั่งปรกประจำเทียนไชยต่อไปจึงเสร็จการพระราชพิธี
- เวลายามเศษ(ประมาณ 7.00-8.00 น.) ร.5 เสด็จประทับในพระอุโบสถทรงจุดเทียนนมัสการ พระสงฆ์ 30 รูปเจริญพระพุทธมนต์แล้วเสด็จกลับ
วันที่ 21 สิงหาคม รศ.112(พ.ศ.2436)
- เวลาเช้า 4 โมง ( 10.00 น.) พระสงฆ์รับพระราชทานฉัน
- เวลาค่ำเจริญพระพุทธมนต์
- โปรดเกล้าฯ ให้พระบรมโอรสาธิราบเสด็จไปบำเพ็ญพระราชกุศล
วันที่ 22 สิงหาคม รศ.112(พ.ศ.2436)
- โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จไปถวายอาหารบิณฑบาตพระสงฆ์ 30 รูป รับพระราชทานฉัน ในพระอุโบสถเหมือนวันก่อน
- เวลาค่ำ ร.5 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงจุดเทียนนมัสการ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์แล้วเสด็จกลับ
วันที่ 23 สิงหาคม รศ.112(พ.ศ.2436)
- เวลาเช้า 3 โมงครึ่ง (9.30 น.) ร.5 เสด็จพระราชดำเนินไปวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ ประทับในพระอุโบสถ ทรง จุดเทียนนมัสการ ทรงศลีแล้ว
- เสด็จประทับในโรงหล่อหน้าพระอุโบสถ
- ทรงเท ทอง หล่อ
1. พระไชยเนาวโลหะองค์ใหญ่ 1 องค์
2. พระไชยเนาวโลหะองค์เล็ก 1 องค์
3. พระไชยวัฒน์(พระชัยวัฒน์)องค์เล็กหล่อ 25 องค์
4. พระพุทธรูปประจำพระชนม์พรรษาปีนี้ 1 องค์
***หมายเหตุ***
/// สังเกตุสักนิด
ทรงเท ทอง หล่อ พระพุทธรูปในครั้งนี้มี 4 แบบ และไม่ได้ระบุเป็นเนื้อทองคำ
ทุกๆปี ร.5 ทรงเท ทอง หล่อ พระพุทธรูปประจำพระชนม์พรรษาปีละ 1 องค์
เมื่อสิ้นประชนม์จำนวนพระ...ที่หล่อมี 52 องค์ และไม่มีองค์ใดที่มีมองแล้วเป็นเนื้อทองคำทั้งองค์
แต่ที่พบพระพุทธรูปประจำพระชนม์พรรษา ร.5 เป็นเนื้อนวโลหะ
/// คำว่า "ทรงเท ทอง หล่อ" ให้ท่านสืบค้นในอินเตอร์เน็ต ด้วยคำว่า "ทรงเท ทอง หล่อ" จะพบว่า ประธานในพิธี ทรง เท ทองคำ หล่อ ร่วมกับโลหะประเภทอื่นฯที่ผสมเตรียมรอไว้อยู่ในเบ้า
/// หากท่านใดเคยร่วมพิธีหล่อพระ...คงนึกภาพออกว่าเป็นเช่นไร
/// ดูรายการ ทรงเท ทอง หล่อ พระ...
1. พระไชยเนาวโลหะองค์ใหญ่ 1 องค์
2. พระไชยเนาวโลหะองค์เล็ก 1 องค์
ระบุชัดเจนว่าเป็นเนื้อ เนาวโลหะ หรือ สมัยนี้ที่เรียกกันว่า เนื้อนวโลหะ
สรุป พระไชยวัฒน์ ที่หล่อ ในครั้งนี้เป็นเนื้อนวโลหะ จะเป็นโลหะประเภทอื่นย่อมเป็นไปไม่ได้
- ขณะนั้นพระสงฆ์สวดไชยมงคล เจ้พนักงานประโคมดุริยดนตรี และยิงปืนมหาฤกษ์ มหาไชย มหาจักร์ มหาปราบยุค สลูด 21 นัด
- แล้วเสด็จในพระอุโบสถ ทรงประเคนอาหารบิณฑบาต พระสงฆ์รับพระราชทานฉันแล้วสมเด็จพระวันรัตดับเทียนไชย เสร็จการพิธี
- พิธีการสร้างบุคคลทั่วๆไม่สามารถสร้างหรือเรียนแบบได้ในยุคสมัยรัชกาลที่ 5 ว่าด้วยทุนทรัพย์และบุญบารมีและความพร้อมในทุกๆด้าน
วันที่ 24 สิงหาคม รศ.112(พ.ศ.2436)
- เวลาเช้า 5 โมงเศษ(11.00 น. กว่าๆ) เจ้าพนักงานและกรรมการกรุงเก่า ได้เวียนเทียนสมโภชพระพุทธรูปที่หล่อใหม่ ตามธรรมเนียม
2271001
พระชัยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2436 ปางมารวิชัย ก้นทองคำ
พระชัยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2436 ปางมารวิชัย ก้นทองคำ |
พระชัยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2436 ปางมารวิชัย ก้นทองคำ |
2271002
พระชัยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2436 ปางมารวิชัย ก้นเงิน
พระชัยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2436 ปางมารวิชัย ก้นเงิน |
พระชัยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2436 ปางมารวิชัย ก้นเงิน |
2. ศึกษาเรื่อง การฉลอง พระไชยวัฒน์ พ.ศ.2437 (รศ.113)
บันทึกเรื่อง การ ฉลอง พระไชยวัฒน์ รศ.113 หรือ พ.ศ.2437 *** เป็นการฉลองพระไชยวัฒน์ที่สร้างในปี พ.ศ.2437 ไม่ใช่ พ.ศ.2436 นะครับ อย่างนำเรื่องด้านบนมาคิดว่าเป็นพระ...ที่หล่อในพิธีเดียวกัน
วันที่ 14 พฤศจิกายน รศ.113(พ.ศ.2437)
- โปรดเกล้าฯ ให้จัดการ ฉลอง พระไชยวัฒน์ 26 องค์
***ข้อสังเกต
พ.ศ.2436 ทรงครองราชสมบัติ 25 ปี หล่อพระชัยวัฒน์ 25 องค์
พ.ศ.2437 ทรงครองราชสมบัติ 26 ปี หล่อพระชัยวัฒน์ 26 องค์
- ที่หล่อพระราชวังบางปะอิน ที่พระที่นั่้งอมรินทร วินิจฉัย
***ข้อสังเกต
พ.ศ.2436 ที่หล่อวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ
พ.ศ.2437 ที่พระที่นั่งอมรินทร วินิจฉัย
- เจ้าพนักงานได้เชิญ พระไชย ประจำราชกาลนี้ (ร.5) และพระชัยวัฒน์ 26 องค์นั้น ขึ้นประดิษฐานบน พระที่นั่งเสวตรฉัตร
- ถัดออกมาตั้งพระแท่นมีเทียน 26 เล่ม เครื่องนมัสการตามธรรมเนียม
- เวลา 4 ทุ่มเศษ ณ.5 เสด็จออกทรงจุดเทียนนมัสการ
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรม หมื่น วชิรญาณ วโรรส ถวายศลี
- ทรงศลีแล้ว พระสงฆ์ 26 รูป เจริญพระพุทธมนต์ จบแล้วทรงประเคน จีวร สาลู และขาญชีเครื่องไทยธรรมล้วนเป็นเภสัช
- และโปรดให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราล และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกเธอ ทรงประเคนพระองค์ละรูปตามเลขในฉลาก
วันที่ 15 พฤศจิกายน รศ.113(พ.ศ.2437)
-
เวลาเช้าเจ้าพนักงานได้นำเข้ากระทง ที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
สมเด็ยพระเจ้าลูกยาเธอ และพระเจ้าลูกเธอทรงจัดไปถวายพระสงฆ์
ที่ได้มาเจริญพระพุทธมนต์ตามฉลากนั้น
- เวลา 2 ทุ่มเศษ ร.5 เสด็จออกทรงจุดเทียนนมัสการ พระราชกวีถวายเทศนา 1 กัณฑ์
- จบแล้ว ทรงประเคนเครื่อง บรีก ขาร และกับปัจจัย 10 ตำลึง
- พระราชกระวี ถวาย อดิเรก ถวายพระพรลา
- แล้วพระราชทาน พระไชยวัฒน์ แก่ สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และพระเจ้าลูกเธอพระองค์ละองค์
- เวลา 2 ยามเศษ เสด็จขึ้น
- ในการนี้มีดอกไม้เพลิงทั้ง 2 เวลา
3. ศึกษาเรื่อง การพระราชทาน พระไชยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2435 (รศ.111)
***หมายเหตุ***
/// สังเกตุสักนิดจะพบว่า การพระราชทาน พระไชยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2435 (รศ.111)ไม่ได้ระบุว่าเป็นโลหะธาตุชนิดใด
วันที่ 18 กันยายน รศ.111(พ.ศ.2435)
- ในพระราชพิธีศรีสัจปานกาล(พิธีสาบานตน) ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระไชยวัฒน์องค์เล็ก...
-
เจ้าพนักงานได้จัดพระแท่นมณฑล ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนสาสดาราม
ตั้งพระขันหยกและพระเต้าต่างๆ และพาดพระแสดงต่างๆ
เชิญพระไชยวัฒน์ประจำรัชกาลปัจจุบันนี้(ร.5)
ขึ้นสถิตย์และตั้งหม้อน้ำพระพุทธมนต์ตามธรรมเนียม
- นิมนต์พระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย 38 รูป พร้อมกันในพระอุโบสถ
- เวลา 2
ยามเศษ ร.5 เสด็จพระราชดำเนินโดยพระราชยาน
ไปประทับเกยหน้าประตูวัดพระศรีรัตนสาสดาราม
ด้านตะวันตกแล้วทรงพระดำเนินสู่พระอุโบสถ ทรงจุดเทียนนมัสการ
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่น วชิรญาณ วโรรส ถวายศลี
- ทรงศลีแล้ว ขุนพิพิธอักษรพรรณ์กรมพระอาลักษณ์ อ่านประกาศเรื่องรัตนพิมพ์วงษ์จบแล้ว
- พระสงฆ์เจริญ พระพุทธมนต์ทวาทสปริต (พระพุทธมนต์ใน เจ็ดตํานานที่เรียกว่า สัตปริตร และสิบสองตํานานที่เรียกว่า ทวาทศปริตร, ตํานานหนึ่ง เรียกว่า ปริตรหนึ่ง)
- เวลา 7 ทุ่มเศษ เสด็จกลับจากพระอุโบสถ
- พระสงฆ์สวดมนต์จบแล้วกลับไป
- พราหมณ์อ่านดุษดีสังเวย สรรเสริญพระมหามณีรัตนปฏิมากรต่อไป
วันที่ 19 กันยายน รศ.111(พ.ศ.2435)
- เวลาเข้า 4
โมง พระสงฆ์ที่สวดมนต์ 18 รูป
รับพระราชทานฉันที่พระที่นุ่งพุทไธสวริยประสาท แล้วมาพร้อมกันในพระอุโบสถ
วัดพระศรีรัตนสาสดาราม
- เวลาบ่าย 2
โมง ร.5 เสด็จออกพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาท
ประทับพระราชยานลงยาราชาวดีเสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยกระบวนตำรวจ
ทหารมหาดเล็ก แห่นำขบวนตามเสด็จพระราชดำเนินไปถึงเกย
หน้าประตูวัดพระศรีรัตนสาสดารามแล้ว ทรงพระดำเนินไปประทับในพระอุโบสถ
- ทรงจุดเทียนนมัสการ ทรงศลีแล้ว
-
หลวงราชมุนี ปลัด กรม พราหมณ์พิธี เชิญพระแสง ศร พรหม บาศ ประลัยวาต
อัคนีวาต อ่านโองการแล้วเชิญ ลง ชุบใน พระขันหยก
และอ่านแช่งน้ำตามแบบพรหมณ์จบแล้ว
- ขุนวิจิตร ราชสาสน กรมพระอาลักษณ์ ประกาศแช่งน้ำ
-
ในขณะนี้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ
ดำรัสให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร
เสด็จไปเฉพาะหน้าพระที่นั่ง มีพระราชดำรัส เป็นพระบรมราโชวาทก่อนแล้ว
- ทรงสรวมสร้อยมีพระไชยวัฒน์ องค์เล็ก พระราชทาน
สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช
/// สังเกตุสักนิดจะพบว่า การพระราชทาน พระไชยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2435 (รศ.111)ไม่ได้ระบุว่าเป็นโลหะธาตุชนิดใด
- ต่อด้วยพิธีสาบานตนฯลฯ
หมายเหตุ จาก ราชกิจจานุเบกษา กรุงเทพมหานครในพระบรมมหาราชวังที่บันทึก รัตนโกสิทร์(รศ.) 111 - 113 (พ.ศ.2435 - พ.ศ.2437)
/// พระไชยวัฒน์ที่ ร.5 ทรง พระราชทาน บันทึก "พระไชยวัฒน์ องค์เล็ก" ตั้งแต่ พ.ศ.2435 - พ.ศ.2437 ไม่ได้ระบุว่าเป็นเนื้อโลหะธาตุอะไร
/// สาเหตุ เพราะว่า "พระไชยวัฒน์ องค์เล็ก" ทั้งหมดที่สร้างเป็นพระไชยวัฒน์เนื้อนวโลหะ หรือ เนาวโลหะ ดังรายละเอียดที่พบในบันทึกฯ วาระ ทรง เท ทอง หล่อพระไชยวัฒน์ในปี พ.ศ.2436
4. ศึกษาเรื่อง การพระราชทาน พระไชยวัฒน์ทองคำ องค์เล็ก พ.ศ.2428 (รศ.104)
***หมายเหตุ***
/// สังเกตุสักนิดจะพบว่า การพระราชทาน พระไชยวัฒน์ทองคำ องค์เล็ก พ.ศ.2428 (รศ.104) ระบุว่าเป็นโลหะธาตุ ทองคำ
/// พระไชยวัฒน์ เป็น เนื้อ ทองคำ ทั้งองค์ หรือว่าผู้บันทึกราชกิจจานุเบกษาเข้าใจผิด?
ในบันทึก อ้างถึง(อดีต เกี่ยวกับพระไชยวัฒน์) ซึ่งเป็นการสร้างในวาระครั้งที่ 1 มีรายละเอียดดังนี้
- เรื่องเดิมพระไชยวัฒน์ทองคำองค์
เล็กนั้น เดิมจะทรงพระกรุณาโปรดให้พระเจ้าลูกเธอ 4 พระองค์
ซึ่งจะกล่าวนามภายหลัง เสด็จออกไปเรียนวิชาในเมืองอังกฤษ
ซึ่งเป็นหนทางไกลนั้น
-
จะโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ส่ิงสำคัญอันใดอันหนึ่ง
ที่เนื่องในพระพุทธสาสนาให้ทรงไว้เป็นเครื่องรฦถบูชา
ในเวลาที่ต้องเสด็จจากประเทศสยามไปช้านาน
- ครั้นจะโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระพุทธรูปฤาสิ่งใดที่มีอยู่แล้ว ในหอหลวง ก็ล้วนแล้วแต่เป็นของใหญ่โต เป็นการลำบากที่นำไปนำมาทุกสิ่งทุกอย่าง
- จึงทรงพระราชดำริห์ที่จะทรงหล่อพระพุทธรูป อย่างที่เรียกว่าพระไชยวัฒน์ องค์หนึ่ง มีทองคำ หนัก 1 เฟื้อง
/// ขยายประโยคที่บันทึก
ถ้อยคำประโยคนี้ ผู้เขียนขยายความได้ดังนี้ ให้สร้างเรียนแบบพระชัยวัฒน์ทองคำในอดีตองค์หนึ่งมีน้ำหนัก 1 เฟื้อง
พระชัยวัฒน์ทองคำในอดีตองค์หนึ่งมีน้ำหนัก 1 เฟื้อง มีสร้างในสมัย รัชกาลที่ 4 และสมัยรัชกาลที่ 3 รูปแบบพระชัยวัฒน์องค์เล็กทั้งสองราชกาลนี้มีน้ำหนัก 1 เฟื่อง
วันเสาร์ เดือนแปด ขึ้น 9 ค่ำ รศ.104 (พ.ศ.2428)
- ตั้งการพระราชพิธีสวดมนต์ครบ 3 จบแล้ว
/// สังเกตุสักนิดจะพบว่า
ในปี พ.ศ.2428 ไม่ได้กล่าวรายละเอียดในการเตรียมพิธีการต่างๆ...
พิธีฯร ายละเอียดหากไปดูวาระที่ทรง เท ทองหล่อฯ ในปี พ.ศ.2436 จะพบ รายละเอียดที่ได้บันทึกไว้
วันอังคาร เดือนแปด ขึ้น 12 ค่ำ รศ.104 (พ.ศ.2428) เวลาอีก 3 วันต่อมา
- เป็นวันทรง เท ทองคำ หล่อในครั้งนี้ 50 องค์
- และโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างตลับสำหรับทรงพระไชยนี้ "ด้วยทองคำลงยา"
ตลับนั้นทำรูปและลวดลายคล้ายกับดวงตรารูปประทุมอุณาโลม
ประจำแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์
- แต่ตลับนี้ตรงกลางเป็นแก้วเปล่าไม่มีอุณาโลม และมีสร้อยสำหรับสรวมคอด้วย
วันจันทร์ เดือนแปด แรม 3 ค่ำ รศ.104 (พ.ศ.2428) เวลาอีก 6 วันต่อมา
- ได้มีการสวดมนต์ฉลองพระไชยวัฒน์นี้
/// สังเกตุสักนิดจะพบว่า
ภายหลังจากหล่อพระไชย์วันเสร็จ มีเวลา 5 - 6 วัน ช่างสิบหมู่มีเวลาที่จะต้องเร่งงาน คือ
1. ตบแต่งเกลา พระไชย์วัฒน์ ให้งดงาม
2. ชุบพระไชยวัฒน์เนื้อเนาวโลหะ หรือ เนื้อนวโลหะ
ให้มีวรรณะสีผิวเป็นเนื้อทองคำ ที่เรียกว่า เปรียกทอง หรือ
เคลือบผิวพระไชยวัฒน์ให้เป็นผิวทองคำ
3. ทำตลับทองคำลงยา
4. สร้อยคอทองคำ ในงานนี้ช่างสิบหมู่ไม่จำเป็นต้องสร้าง ในท้องพระคลัง มีเยอะแยะ ถ้าจะสร้างจริง เป็นหน้าที่ของกรมช่างทอง ไม่ใช่หน้าที่ของกรมช่างหล่อ
วันอังคาร เดือนแปด แรม 4 ค่ำ รศ.104 (พ.ศ.2428) วันถัดมา
- เป็นวันที่พระเจ้าลูกยาเธอทั้ง 4 พระองค์ จะเสด็จไปประเทศยุโรป
- ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระไชยวัฒน์ในจำนวนนี้แก่
พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ 1 องค์
พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ 1 องค์
พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม 1 องค์
พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช 1 องค์
- เป็นครั้งแรกที่ได้พระราชทานพระไชยวัฒน์จำนวน 50 องค์นี้
วันพฤหัศบดี เดือนแปด แรม 13 ค่ำ รศ.104 (พ.ศ.2428) เวลาอีก 9 วันต่อมา
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งพระไชยวัฒน์องค์เล็กในจำนวนนี้ ออกไปพระราชทาน
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศ วรฤทธิ์ 1 องค์
พระเจ้าน้องยาเธอองค์เจ้า โสณบัณฑิตย์ 1 องค์
ซึ่งเสด็จออกไปอยู่กรุงลอนดอนทั้งสองพระองค์
- อนึ่งพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ์ ซึ่งอยู่ประเทศยุโรปในเวลานั้นด้วยไม่ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานออกไปนั้น
-
เพราะเมื่อเวลาพระองค์เจ้า สวัสดิ โสภณ จะเสด็จออกไปยุโรปได้ โปรดเกล้าฯ
ให้หล่อพระพุทธรูปทองคำองค์เล็ก มีอาการอย่างนี้เหมือนกัน
แต่โตกว่าพระไชยวัฒน์ครั้งนี้หน่อยหนึ่ง
- ได้หล่อครั้งนั้นใน พ.ศ.2427(รศ103)จำจำนวน 4 องค์ โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระองค์เจ้าสวัสดีโสภณไป 1 องค์
- ครั้งนี้จึงไม่ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานไป
/// สังเกตุสักนิดจะพบว่า
1.
ได้เคยมีการหล่อพระไชย์ในสมัย รัชกาลที่ 5 ครั้งแรก จำนวน 4 องค์
มีขนาดใหญ่กว่าพระไชยวัฒน์ที่หล่อขึ้นในปี พ.ศ.2428(รศ.104) หน่อยหนึ่ง
2. หล่อพระไชยวัฒน์หล่อใน พ.ศ.2427 (รศ.103) จำนวน 4 องค์ พระราชทานไป 1 องค์ คงเหลือพระไชยวัฒน์ที่มีขนาดใหญ่กว่าพระชัยวัฒน์ที่สร้างในปี พ.ศ.2428(รศ.104) จำนวน 3 องค์
2271003
พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2428 ปางมารวิชัย
พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2428 ปางมารวิชัย องค์นี้ผู้เขียนห้อยคอประจำ
|
พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2428 ปางมารวิชัย องค์นี้ผู้เขียนห้อยคอประจำ |
2271004
พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2428 ปางสมาธิ
พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2428 ปางสมาธิ |
วันพฤหัศบดี เดือนแปด แรม 13 ค่ำ รศ.104 (พ.ศ.2428) เวลาอีก 9 วันต่อมา
- ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระไชยวัฒน์จำนวนใหม่นี้(พ.ศ.2428, รศ.104) แด่
พระวงษเธอ พระองค์เจ้าสายสินิทธวงษ 1 องค์
วันศุกร์ เดือนสิบ ขึ้น 3 ค่ำ รศ.104 (พ.ศ.2428) ประมาณ 2 เดือนต่อมา
- ทรงบำเพญพระราชกุศลในสมัย ซี่ง ร.5 เจริญพระชนพรรษาเสมอด้วยถึงพระชนพรรษาในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระไชยวัฒน์จำนวนใหม่นี้(พ.ศ.2428, รศ.104) แด่
พระเจ้าบรมวงษเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ (แต่เมื่อเวลานั้นดำรงพระยศกรมพระ) 1 องค์
พระเจ้าราชวรวงเธอ กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ 1 องค์
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ กรมพระภาณุพันธุวงษวรเดช (ในสมัยนั้นดำรงพระยศกรมหลวง) 1 องค์
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช 1 องค์
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิริอัชสังกาศ 1 องค์
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ (เวลานั้นยังไม่ได้รับกรม) 1 องค์
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษาโรประการ (เวลานั้นดำรงตำแหน่งพระยศกรมหมื่น) 1 องค์
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ (เวลานั้นยังไม่ได้รับกรม) 1 องค์
วันสุกร(วันศุกร์ครับผม) เดือนสิบ ขึ้น 10 ค่ำ รศ.104 (พ.ศ.2428) อีก 7 วันต่อมา
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระไชยวัฒน์จำนวนใหม่นี้(พ.ศ.2428, รศ.104) แด่
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษศิลปาคม 1 องค์
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (เมื่อเวลานั้นยังไม่ได้รับกรม) 1 องค์
วันสุกร(วันศุกร์) เดือนสิบเอ็ด ขึ้น 15 ค่ำ รศ.104 (พ.ศ.2428) เดือนต่อมา
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน แด่
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร (เมื่อเวลานั้นดำรงพระยศในที่กรมหมื่น) 1 องค์
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ 1 องค์
วันเสาร์ เดือนยี่ แรม 4 ค่ำ รศ.104 (พ.ศ.2428) ถ้าเป็นสมัยนี้เปลี่ยน พ.ศ.แล้วครับ แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เปลี่ยน พ.ศ. วันสงกรานต์
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน แด่
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนตรัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ เมื่อวันรับกรม 1 องค์
วันพุฒ(วันพุธ) เดือนสี่ ขึ้น 6 ค่ำ รศ.104 (พ.ศ.2428) ถ้าเป็นสมัยนี้เปลี่ยน พ.ศ.แล้วครับ แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เปลี่ยน พ.ศ. วันสงกรานต์
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน แด่
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงษ 1 องค์
สรุป ในปี พ.ศ.2427- พ.ศ.2428
1. พระไชยวัฒน์องค์เล็ก สร้างวาระ พ.ศ.2427(รศ.103)ทั้งหมด 4 องค์
2. พระไชยวัฒน์องค์เล็ก สร้างวาระ พ.ศ.2428(รศ.104)ทั้งหมด 50 องค์
5. ศึกษาเรื่อง การพระราชทาน พระไชยวัฒน์ทองคำ องค์เล็ก พ.ศ.2434 (รศ.110)
วันที่ 24 กันยายน รศ.110 (พ.ศ.2434)
- ร.5 เสด็จออกที่ศัลลักษณสฐาน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระไชยวัฒน์ ทองคำ องค์เล็กและตลับทองคำ เป็นรูปตราประทุมลงยาราชาวดี และมีสร้อยทองคำ แก่
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงษ์ 1 องค์
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล 1 องค์
สรุปการศึกษาเรื่อง พระไชยวัฒน์ที่สร้างในสมัย ร.5
ที่พบมีการเทหล่อสร้างพระไชยวัฒน์องค์เล็ก 4 วาระ(พ.ศ.)
--- ครั้งที่ 1 พ.ศ.2427 จำนวนการสร้าง 4 องค์
--- ครั้งที่ 2 พ.ศ.2428 จำนวนการสร้าง 50 องค์
--- ครั้งที่ 3 พ.ศ.2435 จำนวนการสร้าง 25 องค์
--- ครั้งที่ 4 พ.ศ.2436 จำนวนการสร้าง 26 องค์
รวมการสร้างพระไชยวัฒน์องค์เล็ก สมัยรัชกาลที่ 5 ทั้ง 4 ครั้ง จำนวนพระไชยวัฒน์ที่สร้างหล่อขึ้นทั้งหมด 105 องค์
พระไชยวัฒน์องค์เล็กที่พบ มี 2 พิมพ์ คือ ปางสมาธิและพิมพ์มารวิชัย
พระชัยวัฒน์องค์เล็กที่สร้างในสมัย ร.5 วาระแรกๆ เป็นพระชัยวัฒน์ก้นตัน
พระชัยวัฒน์ในปี พ.ศ.2436 ที่พบก้นบรรจุเม็ดกริ่ง มีการปิดก้นด้วยแผ่นทองคำและแผ่นเงิน เพื่อพิธีการดังนี้
///ก้นทองคำ มีไว้สำหรับโปรดเกล้าฯ พระราชทานบุคคลผู้ใกล้ชิดหรือมียศฐานบันดาศักดิ์สูง
///ก้นเงินมีไว้สำหรับโปรดเกล้าฯ พระราชทานบุคคลที่มียศฐานบันดาศักดิ์น้อยกว่ากลุ่มก้นทองคำ
พระไชยวัฒน์ที่สร้างในวาระปี พ.ศ.2427 พ.ศ.2428 พ.ศ.2435 และ พ.ศ.2436 ที่ผู้เขียนพบทั้งหมดเป็น พระไชยวัฒน์ เนื้อเนาวโลหะ หรือ เนื้อนวโลหะ เปียกทอง หรือ กะไหล่ทอง
ไม่เป็นที่แปลกใจสำหรับผู้เขียน
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่บันทึกในราชกิจจานุเบกษาได้บันทึกในปี
พ.ศ.2427-พ.ศ.2434 เป็น พระไชยวัฒน์ทองคำองค์เล็ก เพราะท่านผู้บันทึก บันทึกตามวรรณะสีผิวของพระไชยวัฒน์ที่พบเห็น
แต่ต่อมาภายหลัง ปี พ.ศ.2535 - พ.ศ. 2537 บันทึกใน ราชกิจจานุเบกษา บันทึก พระไชยวัฒน์องค์เล็ก ไม่มีคำว่า ทองคำ เพราะเวลาผ่านมา 7 ปี ทำให้ทราบว่าพระไชยวัฒน์องค์เล็กที่มีวรรณะสีทอง ไม่ใช่ ทองคำ ทั้งองค์
ผู้บันทึก ราชกิจจานุเบกษาฯ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2535 - พ.ศ. 2537 จึงบันทึกเพียง พระไชยวัฒน์องค์เล็ก
อ้างอิง ราชกิจจานุเบกษา กรุงเทพมหานครในพระบรมมหาราชวัง รัตนโกสินทร์ศก 103 - 113
เพิ่มเติมรูปภาพ 31/7/2555
พระชัยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2427 หรือ
พระไชยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2427
ปางมารวิชัย กับ ปางสมาธิ (จับคู่เปรียบเทียบ ความเหมือนและแตกต่างของพิมพ์ทรง)
พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2427 รูปด้านหน้า |
พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2427 รูปด้านหลัง |
พระชัยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2428 หรือ
พระไชยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2428
ปางมารวิชัย กับ ปางสมาธิ (จับคู่เปรียบเทียบ ความเหมือนและแตกต่างของพิมพ์ทรง)
พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2428 พิมพ์ปางมารวิชัย และ พิมพ์ปางสมาธิ รูปด้านหน้า |
พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2428 พิมพ์ปางมารวิชัย และ พิมพ์ปางสมาธิ รูปด้านหลัง |
พระไชยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2428 ปางมารวิชัย เปรียบเทียบกับเหรียญ 1 บาท
พระชัยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2436 หรือ
พระไชยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2436
ปางมารวิชัย ฐานบรรจุเม็ดกริ่ง ก้นปิดแผ่นทองคำ
พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2436 ปางมารวิชัย ฐานบรรจุเม็ดกริ่ง ก้นปิดแผ่นทองคำ
แผ่นปิดก้นทองคำ พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก ปางมารวิชัย พ.ศ.2436 |
พระไชยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2436
ปางมารวิชัย ฐานบรรจุเม็ดกริ่ง ก้นปิดแผ่นเงิน
พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2436 ปางมารวิชัย ฐานบรรจุเม็ดกริ่ง ก้นปิดแผ่นเงิน
แผ่นปิดก้นเนื้อเงิน พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก ปางมารวิชัย พ.ศ.2436 |
***ภาพชุดนี้ ถ่ายใหม่เมื่อคืนนี้ เพื่อให้เห็นวรรณะสีผิวความเก่า เมื่อ 119 ปี ที่ผ่านมา
- ความเก่งของโลหะกลับดำลักษณะสีดำ+สีเขียวเข้ม+อมแดง ไม่ใช่ดำสนิท
- มีสนิทเขียว เกิดขึ้น ด้วยระยะเวลาการสั่งสม 119 ปี
- กระไหล่ทองที่ฉาบไว้บางๆ เมื่อ พ.ศ.2436 เสียหายด้วยการเกิดปฏิกริยากับอากาศและอื่นๆ
- พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก
ที่สร้างในวาระ พ.ศ.2428 ผิวด้านนอกยังคงพบเห็นเป็นสีทองคำ
แต่มีสนิมเขียวที่เกิดจากการทำปฏิกริยาทางอากาศ
บางจุดที่มีเนื้อทองคำบาง(หรือถูกสัมผัส)
จะพบเห็นเนื้อโลหะด้านในเป็นเนื้อนวะโลหะ